วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ดอกมะลิ

ดอกมะลิ กลายสัญลักษณ์หนึ่งที่มาพร้อมกับเทศกาล วันแม่ เป็นวันที่บรรดาลูกให้ความสำคัญกับผู้ที่ให้กำเนิดเป็นพิเศษ แต่ผมก็ไม่ได้หมายความว่าจะเลือกปฏิบัติเฉพาะวันนี้เท่านั้น ยังคงมอบความรักต่อแม่ทุกวัน แม้มันจะดูเล็กน้อยที่จะแสดงออกแต่ก็ทำด้วยความเต็มใจ ฉะนั้น คุณตัดสินใจหรือยังว่า ในวันนั้นจะเลือก ดอกมะลิ พันธุ์ไหนให้แม่ของเราดี


ภาพ:03082007-233355-3-3.jpg


มะลิเป็นดอกไม้ที่เห็นง่ายๆ ตามสี่แยกไฟแดง ที่ถูกนำมาเรียงร้อยเป็นพวงมาลัย ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัว สีขาวบริสุทธิ์ ทำให้ “มะลิ” ถูกจัดเป็นดอกไม้ยอดนิยมและเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่นับวันมีความสำคัญมากขึ้น ประโยชน์ นอกจากนั้นยังมีประโยชน์รวมถึงใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้ เช่น มะลิซ้อนดอกสดใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ตัวร้อน แก้หวัด “ดอกแห้ง” ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น “ใบสด” นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผลพุพองและแผลฝีดาษ “ต้น” ใช้รักษาโรคคุดทะราด ขับเสมหะและโลหิต “ราก” นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้อง เป็นต้น จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด คือ นครปฐม

ทั้งนี้ มะลิ ไม่ได้มีแค่ชนิดเดียว มีประมาณ 10 กว่าพันธุ์กันเลยทีเดียว จะเป็นอย่างไร เลือกชนิดไหนให้แม่ ต้องติดตามต่อไป แต่เสียดายที่ผมไม่ค่อยมีเวลาหารูปมาให้คุณดูได้ทั้งหมด สัญญาว่าวันหลังถ้ามีโอกาสจะนำมาสนองก็แล้วกัน


ภาพ:7408024low.gif


[แก้ไข] ดอกมะลิพันธุ์ต่างๆ
[แก้ไข] มะลิลา

เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
[แก้ไข] มะลิลาซ้อน

เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
[แก้ไข] มะลิถอด

ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
[แก้ไข] มะลิซ้อน

ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก 10 กลีบ ขึ้นไป ขนาดดอก 3-4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก
[แก้ไข] มะลิพิกุล หรือ มะลิฉัตร

ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม
[แก้ไข] มะลิทะเล

เป็นไม้รอเลื้อย ดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน
[แก้ไข] มะลุลี

มะลุลีเป็นพันธุ์ไม้สกุลเดียวกับมะลิอีกชนิดหนึ่งที่มีดอกหอม มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น มะลิพวง มะลิเลื้อย [[มะลิซ่อม เป็นไม้รอเลื้อยกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นชัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียง คล้ายมะลิอื่น ๆ แต่ใบมีขนเห็นเด่นชัด เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม ใบดกมาก จะออกดอกมากเป็นพิเศษประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ จึงปลูกคลุมซุ้มไม้ได้ดี ดอกเป็นช่อ แน่นตามปลายกิ่งและซอกใบ มีสีขาว แต่ละช่อมีมากกว่า 10 ดอกขึ้นไป จึงเห็นเป็นช่อใหญ่สวยงาม มีขนนุ่มๆ โดยเฉพาะที่กลีบเลี้ยงซึ่งเป็นแฉกแหลมๆ ลักษณะของดอกคล้ายมะลิลา แต่กลีบแคบยาวและปลายแหลมกว่า ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2.5-3 ซม. ใช้ทั้งช่อเป็นดอกไม้บูชาพระ กลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน คล้ายกลิ่นมะลิวัลย์
[แก้ไข] มะลิเลื้อย

ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินยาวประมาณ 1 ฟุต ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่นมาก
[แก้ไข] มะลิวัลย์หรือมะลิป่า

เป็นไม้เลื้อย ลำเถาเล็กเกลี้ยง ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ดอกเป็นช่อเล็กเพียง 1-2 ดอก ตรงซอกใบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-3 ซม. กลีบแคบและเรียวแหลม ดอกมีกลิ่นหอมแต่ร่วงเร็ว ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง ปลูกตามซุ้ม หรือพันรั้วก็ได้ มะลิวัลย์ชนิดนี้มีลำเถายาวและเลื้อยพันได้เป็นระยะทางไกลๆ แต่ดอกไม่ดก จึงไม่เป็นที่สะดุดตาเหมือนมะลิป่าชนิดอื่นๆ
[แก้ไข] พุทธชาด

เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวแต่ใบด้านล่างลดขนาดลงมากจนมีลักษณะคล้ายหูใบ ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่ง และข้างกิ่ง ดอกสีขาว ปลายกลีบมน ก้านดอกยาว
[แก้ไข] ปันหยี

ต้นเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับมะลิวัลย์ ใบเดี่ยว การออกของใบเช่นเดียวกันแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม หนาและแข็ง ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวกลีบดอกใหญ่กว่ามะลิวัลย์ กลีบดอกกว้างและมน ดอกชั้นเดียว ขนาดดอก 4-4.5 ซม. กลิ่นไม่หอม
[แก้ไข] เครือไส้ไก่

เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว ปลายใบแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อดอกกลางบานก่อน กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบแหลม
[แก้ไข] อ้อยแสนสวย

เป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ไม่มีขน กิ่งแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ก้านใบสีม่วง ดอกออกเป็นช่อมี 8 ดอก ดอกกลางบานก่อน ก้านดอกยาว กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบมน
[แก้ไข] มะลิเขี้ยวงู(มะลิก้านยาว)

เป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งก้านมาก ไม่มีขน ใบออกเป็นช่อคล้ายใบแก้ว แต่บางกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอก ก้านดอกเป็นหลอดสีแดงอมม่วง กลีบดอกขาว กลิ่นหอมจัด

ส่วนมะลิที่เกษตรกรนิยมปลูกกันก็คือ “มะลิลา” ที่เราเจอะเจอกันอยู่บ่อยๆซึ่งพันธุ์ที่มักส่งเสริมและนิยมปลูกมี 3 พันธุ์คือ พันธุ์แม่กลอง พันธุ์ราษฎร์บูรณะ และ พันธุ์ชุมพร

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/

ดอกกุหลาบ

กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ผลิตกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง 3,000 ไร่ เนื่องจาก อ.พบพระ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานต่ำ (แรงงานต่างชาติ) การผลิตกุหลาบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ การผลิตกุหลาบในเชิงปริมาณ และการผลิตกุหลาบเชิงคุณภาพ การผลิตกุหลาบเชิงปริมาณ หมายถึงการปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งจะให้ผลผลิตมีปริมาณมาก แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคและแมลง หรือการขนส่ง อายุการปักแจกันสั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้องอาศัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขตภาคเหนือ และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้โรงเรือนพลาสติก ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ (ตลาดล่าง) ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย เป็นต้น

ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่เหมาะสม คือพื้นที่สูงมากกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หากปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ดังนั้นการผลิตกุหลาบมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น
[แก้] ประเภท

กุหลาบสามารถจำแนกได้ หลายแบบ เช่น จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ขนาดดอก สีดอก ความสูงต้น และจำแนก ตามลักษณะของดอก เป็นต้น ในที่นี้ได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ทางการค้าในตลาดโลกเป็น 5 ประเภทดังนี้

* กุหลาบดอกใหญ่ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบไฮบริดที (Hybrid Tea: HT) ที่มีดอกใหญ่ แต่การดูแลรักษายาก ผลผลิตต่ำ (100-150 ดอก/ตร.ม./ปี) และอายุการปักแจกันสั้นกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกุหลาบ Floribunda มักมีก้านยาวระหว่าง 50-120 เซนติเมตร กุหลาบดอกใหญ่ได้รับความนิยมมากใน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ซิมบับเว โมร๊อกโก ฝรั่งเศส และ อิตาลี พันธุ์กุหลาบดอกใหญ่ที่เป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศได้แก่ พันธุ์ เวก้า (Vega: แดง) , มาดาม เดลบา (Madam Delbard) , วีซ่า (Visa: แดง) , โรเท โรเซ (Rote Rose: แดง) , คารล์ เรด (Carl Red: แดง) , โซเนีย (Sonia: ชมพูส้ม) , เฟิร์สเรด (First Red: แดง) , โพรฟิตา (Prophyta: ปูนแห้ง) , บิอังกา (Bianca: ขาว) , โนเบลส (Noblesse: ชมพูส้ม) และ แกรนด์ กาลา (Grand Gala: แดง) เป็นต้น

* กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ซึ่งมีลักษณะระหว่างกุหลาบดอกใหญ่ และเล็ก เป็นกุหลาบ Hybrid Tea ให้ผลผลิตสูง (150-220 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนการขนส่งได้ดี ความยาวก้านระหว่าง 40-60 ซม. แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล ซิมบับเว เคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ซาช่า (Sacha: แดง) , เมอร์ซิเดส (Mercedes: แดง) , เกเบรียล (Gabrielle: แดงสด) , คิสส์ (Kiss: ชมพู) , โกลเด้นทาม (Goldentime: เหลือง) , ซาฟารี (Safari: ส้ม) และ ซูวีเนีย (Souvenir: ม่วง) เป็นต้น

* กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses) เป็นกุหลาบที่ได้รับความนิยมปลูก และบริโภคกันมากในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ กุหลาบก้านสั้นนี้เป็นกุหลาบ Floribunda ที่ให้ผลผลิตสูง (220-350 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนต่อการขนส่งดีกว่ากุหลาบดอกใหญ่ มักมีความยาวก้านระหว่าง 30-50 เซนติเมตร แหล่งผลิตกุหลาบดอกเล็กได้แก่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิสราเอล และเคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ฟริสโก (Frisco:เหลือง) , เอสกิโม (Escimo: ขาว) , โมเทรีย (Motrea: แดง) , เซอไพรซ์ (Surprise: ชมพู) , และ แลมบาด้า (Lambada: แสด) เป็นต้น

* กุหลาบดอกช่อ (spray roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ให้ผลผลิตต่ำต่อพื้นที่ (120-160 ดอกต่อตารางเมตรต่อปี) ความยาวก้านระหว่าง 40-70 ซม. มักมี 4-5 ดอกในหนึ่งช่อ และยังมีตลาดจำกัดอยู่ เช่นพันธุ์ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น

* กุหลาบหนู (miniature roses) มีขนาดเล็กหรือแคระโดยธรรมชาติ ความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 1 ฟุตให้ผลผลิตสูง 450-550 ดอก/ตร.ม./ปี มีความยาวก้านดอกระหว่าง 20-30 ซม. ยังมีตลาดจำกัดอยู่ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ และอิตาลี

[แก้] สายพันธุ์

การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันจะคำนึงถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ มากกว่าการที่ดอกสวยสะดุดตาแต่เมื่อซื้อไปก็เหี่ยวทันที ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันมักมีข้อพิจารณาดังนี้

1. มีผลผลิตสูง ปัจจุบันกุหลาบดอกเล็กให้ผลผลิตสูงถึง 300 ดอก/ตร.ม./ปี
2. อายุการปักแจกันนาน พันธุ์กุหลาบในสมัยทศวรรษที่แล้วจะบานได้เพียง 5-6 วัน ปัจจุบันกุหลาบพันธุ์ใหม่ ๆ สามารถปานได้ทนถึง 16 วัน
3. กุหลาบที่สามารถดูดน้ำได้ดี
4. กุหลาบที่ไม่มีหนามหรือหนามน้อยเพื่อความสะดวกในการจัดการ
5. สี สีแดงยังคงครองตลาดอยู่ รองลงมาคือสีชมพู สีอ่อนเย็นตา และสองสีในดอกเดียวกัน
6. กลิ่น เป็นที่เสียดายที่กุหลาบกลิ่นหอมมักไม่ทน แต่ก็มีการผสมพันธุ์กุหลาบตัดดอกกลิ่นหอมบ้าง สำหรับตลาดท้องถิ่น
7. มีความต้านทานโรค และทนความเสียหายจากการจัดการสูง

[แก้] การขยายพันธุ์กุหลาบ

กุหลาบ สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การตัดชำ การตอน การติดตา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ต้นกุหลาบที่มีระบบรากที่แข็งแรง และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรมักนิยมกุหลาบพันธุ์ดีที่ติดตาบนตอกุหลาบป่า การปลูกและการจัดการ
[แก้] สภาพที่เหมาะสมในการปลูก

พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และช่วงวันยาว
[แก้] การให้น้ำ และปุ๋ยกุหลาบ
[แก้] การให้น้ำ

ให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5
[แก้] การให้ปุ๋ยก่อนปลูก

ปุ๋ยก่อนปลูกคือปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ

1. ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
2. ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดู ซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น ๆ ได้

ระหว่างการปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว บางชนิดต้องให้เพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรส่งดินไปตรวจเพื่อรับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงดินได้อย่างไร ซึ่งตัวอย่างสามารถส่งไปตรวจที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
[แก้] การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก
[แก้] ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหาร

การให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ ไนโตรเจน และโปแตสเซืยม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)

การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 480 มก./ลิตร

สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม (K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ

1. ระยะสร้างทรงพุ่ม สัดส่วน 1 : 0.58 : 0.83
2. ระยะให้ดอก สัดส่วน 1 : 0.5 : 0.78
3. ระยะตัดแต่งกิ่ง สัดส่วน 1: 0.8 : 0.9

[แก้] การตัดแต่งกิ่งกุหลาบ

การดูแลกุหลาบระยะแรกหลังปลูก เมื่อตากุหลาบเริ่มแตก ควรส่งเสริมให้มีการเจริญทางใบ เพื่อการสะสมอาหาร และสร้างกิ่งกระโดง เพื่อให้ได้ดอกที่มีขนาดใหญ่ และก้านยาว ซึ่งทำได้ด้วยการเด็ดยอดเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยเด็ดส่วนเหนือใบสมบูรณ์ (5 ใบย่อย) ใบที่สองจากยอด เมื่อดอกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา จากนั้นกิ่งกระโดงจะเริ่มแทงออก ซึ่งกิ่งกระโดงนี้จะเป็นโครงสร้างหลักให้ต้นกุหลาบ ที่ให้ดอกมีคุณภาพดี

การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งกุหลาบปฏิบัติได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะใช้หลักการที่คล้ายกัน คือตัดแต่งเพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์เพื่อการตัดดอก และเพื่อให้ได้กิ่งกระโดง (water sprout หรือ bottom break) มากขึ้น และจะรักษาใบไว้กับต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด ควรรักษาให้พุ่มกุหลาบโปร่ง และไม่สูงมากเกินไปนัก เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา และแสงที่กระทบโคนต้นกุหลาบจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิ่งกระโดงอีกด้วย การตัดแต่งกิ่งที่นิยมในปัจจุบันได้แก่การตัดแต่งกิ่งแบบ ตัดสูงและต่ำ

การตัดแต่งแบบ ตัดสูงและต่ำ (สูงและต่ำจากจุดกำเนิดของกิ่งสุดท้าย) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้มีการผลิตดอกสม่ำเสมอทั้งปี
[แก้] โรคกุหลาบ

กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีศัตรูมากพืชหนึ่ง ดังนั้นการป้องกันและกำจัดศัตรูกุหลาบให้มีประสิทธิภาพ ผู้ปลูกควรทราบลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และวงจรชีวิตของศัตรูนั้น ๆ รวมทั้งการป้องกันกำจัด และการใช้สารเคมีให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้ อื่น และควรฝึกเจ้าหน้าที่ให้หมั่นตรวจแปลง และสังเกตต้นกุหลาบทุกวันจะช่วยให้พบโรคหรือแมลงในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถกำจัดได้ง่าย ในการฉีดพ่นสารเคมีควรใช้สารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 ครั้งเพื่อให้สารนั้น ๆ แสดงประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ จากนั้นนั้นควรสับเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีเพื่อลดการดื้อยา

* โรคราน้ำค้าง (Downey mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora spasa ลักษณะการทำลาย อาการจะแสดงบน ใบ กิ่ง คอดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก การเข้าทำลายจะจำกัดที่ส่วนอ่อน หรือส่วนยอด
* โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Sphaerotheca pannosa ลักษณะการทำลาย อาการเริ่มแรกผิวใบด้านบนจะมีลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย และบริเวณนั้นมักมีสีแดง และจะสังเกตเห็นเส้นใย และอัปสปอร์ สีขาวเด่นชัดบนผิวของใบอ่อน ใบจะบิดเบี้ยว และจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาว ใบแก่อาจไม่เสียรูปแต่จะมีราแป้งเป็นวงกลม หรือรูปทรงไม่แน่นอน
* โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae) เป็นโรคที่พบเสมอ ๆ ในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ หรือปลูกประดับอาคารบ้านเรือนเพียง 2-3 ต้น โดยมากจะเกิดกับใบล่าง ๆ อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็กด้านบนของใบ และจะขยายใหญ่ขึ้นหากอากาศมีความชื้นสูง และผิวใบเปียก หากเป็นติดต่อกันนาน จะทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด ต้นโทรม ใบและดอกมีขนาดเล็กลง
* โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัส เช่น ใบด่างซีดเหลือง หรือด่างเป็นซิกแซก
* โรคราสีเทา (botrytis: Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea) มักพบในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และการระบายอากาศไม่ดีพอ ดอกตูมจะเป็นจุดสีน้ำตาล และลามขยายใหญ่และเน่าแห้ง การป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ดอกกุหลาบถูกฝนควรปลูกกุหลาบในโรงเรือนพลาสติก การป้องกันควรฉีดพ่นสารเคมีด้านข้างและด้านบนดอกด้วย คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์
* โรคกิ่งแห้งตาย (die back) เกิดจากตัดกิ่งเหนือตามากเกินไปทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งเหนือตาจนเป็นสีดำ และอาจลามลงมาทั้งกิ่งได้ ดังนั้นจึงควรตัดกิ่งเหนือตาประมาณ 1/4 นิ้ว ทำมุม 45 องศาเฉียงลง

[แก้] แมลงและไรศัตรูกุหลาบ

1. ไรแดง (Spider mite)
2. เพลี้ยไฟ (Thrips)
3. หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera)
4. หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียว (onion cutworm: Spodoptera exigua)
5. ด้วงกุหลาบ (rose beetle: Adoretus compressus)
6. เพลี้ยหอย (scale insect: Aulucaspis rosae)
7. เพลี้ยอ่อน (aphids: Macrosiphum rosae และ Myzaphis rosarum)

[แก้] การเก็บเกี่ยว

ระยะที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวกุหลาบ คือ ตัดเมื่อดอกตูมอยู่หรือเห็นกลีบดอกเริ่มแย้ม (ยกเว้นบางสายพันธุ์) หากตัดดอกอ่อนเกินไปดอกจะไม่บาน ในฤดูร้อนควรตัดในระยะที่ยังตูมมากกว่าการตัดในฤดูหนาวเพราะดอกจะบานเร็ว กว่า
[แก้] ประโยชน์

ปลูกเพื่อความสวยงาม ตกแต่งสวน เพิ่มบรรยากาศ ใช้ประดับตกแต่งบ้าน งานเลี้ยง งานแต่งงาน ปลูกเพื่อส่งดอกขาย เพื่อนำไปสกัดน้ำหอม นำไปทำเป็นส่วนประกอบของสปา เป็นต้น
[แก้] ดูเพิ่ม

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A

นกเงือก

นกเงือก เป็นนกขนาดใหญ่ ส่วนมากมักจะมีขนสีดำสลับขาว ทั่วโลกมี 55 ชนิด [1] มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปอัฟริกา และเอเชีย

นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขัง ตัวอยู่ภายในเพื่อออกไข่เลี้ยงลูก


[แก้] นกเงือกในประเทศไทย

ประเทศไทยมีนกเงือก 13 ชนิด ซึ่งในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งอยู่ใน จังหวัดนครราชสีมา มี 4 ชนิด ได้แก่ นกกก หรือ นกกะวะหรือ นกกาฮัง นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู่กี๋ และ นกแก๊ก หรือนกแกง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พบ 9 ใน 12 ชนิดของนกเงือกที่พบในไทย ได้แก่ นกเงืกปากย่น นกเงือกชนหิน นกแก๊ก นกกก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกเงือกหัวแรด นกเงือกดำ นกเงือกกรามช้าง [2

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81

นกยูงไทย

นกยูงไทย

สัตว์ปีก
Green Peafowl
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pavo muticus
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดใหญ่มาก ความยาววัดจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 102 - 245 เซนติเมตร ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีหงอนเป็นพู่สีเหลืองชี้ตรงอยู่บนหัว ต่างจากนกยูงอินเดียซึ่งเป็นรูปพัด บนหัวและคอเป็นขนสั้น ๆ สีเขียวเหลือบน้ำเงิน หน้ามีสีฟ้า ดำ และเหลือง ขนคอ หน้าอกและหลังตรงกลาง ขนมีเหลือบน้ำเงินแก่ล้อมด้วยสีเขียวและสีทองแดง นกยูงตัวผู้มีแพนขนปิดหางยาวหลายเส้น ตรงปลายมีดอกดวง "แววมยุรา" ตรงกลางดวงมีสีน้ำเงินแกมดำอยู่ภายในพื้นวงกลมเหลือบเขียว ล้อมรอบด้วยรูปไข่สีทองแดง เมื่อนกยูงรำแพนจึงเป็นรูปพัดขนาดใหญ่มีสีสันสวยงามมาก นกยูงตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย และมีเดือยสั้นกว่า ขนของตัวเมียมักมีสีน้ำตาลแดงแทรกอยู่เป็นคลื่น


ถิ่นอาศัย, อาหาร
นกยูงมีการกระจายพันธุ์ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะชวา ในประเทศไทยพบในภาคเหนือและภาคตะวันตก
นกยูงกินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ต้น ธัญพืช ผลไม้สุก แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งู และสัตว์ขนาดเล็ก

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
นกยูงอาศัยตามป่าทั่วไปในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่เป็นฝูงเล็กๆ หลังช่วงฤดูผสมพันธุ์มักพบตัวเมียอยู่กับลูกตามลำพัง มักออกหากินในช่วงเช้าและบ่าย ตามชายป่าและริมลำธาร ตอนกลางคืนมักจับคอนนอนตามกิ่งไม้ค่อนข้างสูง
การเกี้ยวพาราสีกันของนกยูงเริ่มเมื่อนกยูงตัวเมียหากินเข้าไปดินแดนของนกตัวผู้ ตัวผู้จะร่วมเข้าไปหากินในฝูงด้วย และแสดงการรำแพนหาง กางปีกสองข้างออกพยุงลำตัว ชูคอขึ้นแล้วย่างก้าวเดินหมุนตัวไปรอบ ๆ ตัวเมีย การรำแพนหางจะใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที หากตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะย่อตัวลงให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ นกยูงทำรังบนพื้นดินตามที่โล่งหรือตามซุ้มกอพืช อาจมีหญ้าหรือใบไม้แห้งมารองรัง วางไข่ครั้งละ 3 - 6 ฟอง เริ่มฟักไข่หลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว โดยใช้เวลาฟักทั้งสิ้น 26 - 28 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยคลุมทั่วตัว สามารถยืนและเดินตามแม่ไปหาอาหารได้ทันทีที่ขนแห้ง โดยลูกนกจะตามแม่ไปหากินไม่น้อยกว่า 6 เดือน จากนั้นจึงหากินตามลำพัง

สถานภาพปัจจุบัน
นกยูงในป่าธรรมชาติค่อนข้างหายาก และปริมาณน้อย นอกจากบางแห่ง เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ยังพบได้บ่อย และปริมาณปานกลาง กฎหมายจัดให้นกยูงไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

สถานที่ชม
สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

http://www.moohin.com/animals/birds-95.shtml

นกแก้วโม่ง

แก้วโม่ง (Psittacula eupatria) เป็นนกตระกูลนกแก้วขนาดเล็ก - กลาง ชื่อสามัญคือ Alexandrine Parakeet โดยชื่อนี้ เป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ กษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเชีย โดยได้นำนกแก้วสายพันธุ์นี้กลับไปยังทวีปยุโรป

แก้วโม่งมีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายทั่วไปในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไล่ลงไปยังอินเดีย, อินโดจีน เช่น พม่า หรือ ประเทศไทยฝั่งตะวันตก รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน

แก้วโม่งมีความยาววัดจากหัวถึงปลายหางได้ราว 57-58 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเขียว จงอยปากมีลักษณะงุ้มใหญ่สีแดงสด บริเวณหัวไหล่จะมีแถบสีแดงแต้มอยู่ทั้งสองข้าง นกเพศผู้และเมียสามารถแยกแยะได้เมื่อนกโตเต็มที่ กล่าวคือในเพศผู้จะปรากฏมีแถบขนสีดำและสีชมพูรอบคอที่เรียกกันว่า "Ring Neck" ซึ่งในนกเพศเมียไม่มีเส้นที่ปรากฏดังกล่าว

แก้วโม่ง มีสายพันธุ์ย่อยลงไปอีก 4 สายพันธุ์ คือ P.e. nipalensis พบมากใน Ceylon และทางใต้ของอินเดีย P.e. magnirostris พบในบริเวณหมู่เกาะอันดามัน P.e. avensis พบในเขตรัฐอัสสัม,พม่า P.e. siamensis พบได้ในภาคตะวันตกของประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียตนาม

ความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ย่อยนั้น อาจมีต่างกันเล็กน้อยในเรื่องของ ขนาด, ความยาว และสีสันที่ปรากบนลำตัว

อาหารของแก้วโม่ง ในธรรมชาติ ประกอบด้วย เมล็ดพืชต่าง ๆ ผลไม้หลากชนิด ใบไม้อ่อน ฯลฯ

แก้วโม่งจัดเป็นนกแก้วที่มีเสียงร้องค่อนข้างดัง และมักเลือกที่จะทำรังตามโพรงไม้ใหญ่ ๆ โดยใช้วิธีแทะหรือขุดโพรงไม้จำพวกไม้เนื้ออ่อน หรืออาจเลือกใช้โพรงไม้ที่เก่าต่าง ๆ โดยในฤดูผสมพันธุ์ซึ่งจะแตกต่างกันตามลักษณะสายพันธุ์ย่อย อันเกี่ยวเนื่องกับอุณหภูมิและสภาพทางภูมิศาสตร์ แต่โดยเฉลี่ยจะเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงราวปลายเมษายน โดยในระหว่างฤดูผสมนี้เพศเมียจะค่อนข้างแสดงอาการดุ และกร้าวร้าวมากขึ้น

แก้วโม่งวางไข่ปีละครั้ง ครั้งละ 2-4 ฟอง

แก้วโม่งจัดเป็นนกแก้วที่นิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ เพราะพบว่าเป็นนกแก้วที่มีความสามารถในการเลียนเสียงต่าง ๆ โดยเฉพาะเสียงมนุษย์ได้ดี ปัจจุบันนกแก้วโม่งจัดเป็นนกที่อยู่ในบัญชีคุ้มครอง 2 ของอนุสัญญาไซเตส รวมทั้งเป็นนกที่กฎหมายให้ความคุ้มครองในแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน

แก้วโม่งเป็นนกที่ได้รับการนำมาเพาะพันธุ์โดยมนุษย์ประสบผลสำเร็จ ทำให้แนวทางในลดปัญหาจากลักลอบจับหรือล่านกแก้วโม่งป่า เพื่อการค้า มีแนวโน้มที่ดีขึ้น


สำหรับการเลี้ยงนกแก้วโม่งในครอบครองนั้น ผู้เลี้ยงควรต้องศึกษาในเรื่องของพฤติกรรมความเป็นอยู่, ลักษณะนิสัย รวมทั้งการจัดการด้านอาหารและสถานที่เลี้ยงให้ถูกต้อง เพราะการเลี้ยงนกที่ผิดไปจากธรรมชาติถิ่นที่อยู่เดิมนั้น ปัญหาประการหนึ่งก็คือ "ความเครียด" ของนก ดังนั้น การจัดหาความพร้อมทั้งสถานที่,อุปกรณ์ อาหารการกินที่เหมาะสม อาจช่วยให้นกได้รู้สึกมีความสุขและลดความเครียดลง รวมทั้งยังพร้อมที่จะตอบสนองต่อการเป็นนกในฐานะสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ได้ อย่างมีความสุข และมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%87

ดอกแก้วกัลยา

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามดอกไม้ประดิษฐ์โดยคนพิการของศูนย์ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคนพิการ สภาสังคมสงเคราะห์ฯ ว่า "ดอกแก้วกัลยา" ทั้งทรงพระราชทานพระอนุญาตให้ใช้เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ ของคนพิการ และทรงมีพระดำรัสให้ฝึกอบรมวิชาชีพคนพิการเพื่อประดิษฐ์ดอกแก้วกัลยา ให้คนพิการมีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ๒๕๔๗ ตามที่ศูนย์ส่งเสริมอาชีพฯ ได้มีหนังสือขอพระราชทานพระอนุญาต

ดอกแก้วกัลยาได้จดลิขสิทธิ์ ๒ ฉบับ คือ

๑.ใน นามสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และทรงมอบให้คณะกรรมการส่งเสริมอาชีพ ฯ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

๒.ในนามศูนย์ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคนพิการ สภาสังคม สงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ดอกแก้วกัลยานั้นเป็นดอกไม้ในจินตนาการ มาจากดอกไม้ 2 ชนิดด้วยกันคือ ดอกแก้ว และดอกแก้วเจ้าจอม ที่มีกลีบดอกสีฟ้าคราม ซึ่งดอกแก้วทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นดอกไม้ยืนต้นที่แข็งแรง ใบสวยงาม ออกดอกเป็นพวง ให้ความหมายเปรียบเทียบประดุจคนเราทุกคนมีน้ำใจเป็นหนึ่งเดียว เพราะฉะนั้นความหมายโดยรวมของดอกแก้วกัลยานั้นคือ ดอกไม้จากนางแก้ว ที่มีน้ำพระหฤทัยสดใส ให้แสงสว่างอบอุ่นกับมวลหมู่คนพิการในแผ่นดินไทย ดั่งน้ำพระหฤทัยจากองค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ



บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย จัดรายการเทิดพระเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ด้วยการจัดรายการคุณพระช่วยตอนพิเศษ นำเสนอเรื่องราวพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะแก่คนพิการ ที่ทรงพระราชทานนามดอกแก้วกัลยา เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แก่คนพิการทั่วประเทศ และนับเป็นเกียรติประวัติที่ ประภาส ชลศรานนท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทเวิร์คพอยท์ฯ ได้มีโอกาสตอบแทนพระคุณแผ่นดิน โดยการแต่งเนื้อร้อง ทำนองเพลง “แก้วกัลยา” ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระพี่นางเธอฯ เนื่องในวโรกาสสำคัญนี้ ซึ่งเพลงแก้วกัลยานี้จะได้นำไปใช้เป็นเพลงสัญลักษณ์แห่งคนพิการต่อไปอีกด้วย



การร่วมขับร้องเพลง “แก้วกัลยา” ได้รับความร่วมมือระหว่างสมาคมดนตรีเพื่อคนตาบอด, วงซิมโฟนี่จากกองดุริยางค์ทหารบก และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่คัดเลือกน้อง ๆ พิการทางหูทั้งชายและหญิงมาร่วมแสดงภาษามือประกอบเพลงเพื่อสื่อสารให้กับ ผู้พิการทางหูทั่วประเทศ ส่วนนักร้องนำคือ น้องตั๊ก อธิศรี สงเคราะห์ และคอรัสประสานเสียงอีก 4 ท่าน จากสมาคมดนตรีเพื่อคนตาบอด ปรากฏว่าทันทีที่เสียงเพลงกระหึ่มขึ้น ผู้ชมทั่วทั้งห้องบันทึกเทปที่พากันมาชมภาพการบันทึกเทปพิเศษนี้ต่างเงียบ กริบ เพราะเสียงของน้องตั๊กนั้นกังวานใสจนขนลุกซู่ ส่วนซิมโฟนี่วงดุริยางค์ทหารบกนั้นผสมผสานเข้ากับดนตรีไทยได้อย่างเหมาะ เจาะลงตัวทำเอาขนลุกซู่

โดยเฉพาะกับท่อนสำคัญที่ว่า “ดอกไม้ฟ้า แห่งกรุณา ประทานลงมาแสนชื่นใจ ดั่งดอกไม้จากเทวาลัยจากแดนสรวง....ดอกไม้ฟ้า แก้วกัลยา แทนใจทั้งดวง แทนความรักความเป็นห่วงความชื่นชม” ซึ่งกว่าจะออกมาเป็นเพลงอันไพเราะนี้หลายฝ่ายต่างทุ่มเทแรงกายแรงใจเตรียม งานกันอย่างดี ตั้งแต่การกลั่นกรองเนื้อร้อง ทำนอง รวมถึงการซักซ้อมระหว่างวงดนตรีกับนักร้อง เพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุดเพื่อน้อมถวายแด่พระองค์ท่านฯ และทั้งหมดนี้นับเป็นภาพสุดประทับใจ ที่ใครที่ได้ฟังจะได้สัมผัสถึงความรักความมุ่งมั่นจากใจของทุกคนที่มีต่อ พระองค์ ซึ่งทันที่ที่เพลงจบเสียงตบมือดังสนั่นต่อเนื่อง ทำเอานักร้องนักดนตรียิ้มชื่นมื่น ส่วนทีมงานนั้นนั่งน้ำตาไหลไปตามๆกัน เพราะปลื้มใจสุด ๆ กับการร่วมร้อยดวงใจครั้งยิ่งใหญ่ที่ทุกคนทำเพื่อสมเด็จพระพี่นางฯ



น้องตั๊ก นางสาวอธิศรี สงเคราะห์ อายุ 22 ปี นักร้องสมาคมดนตรีเพื่อคนตาบอด กล่าวว่า “หนู ร้องเพลงให้กับสมาคมดนตรีคนตาบอด ตั้งแต่สมาคมเริ่มก่อตั้งเมื่อ 2 ปีที่แล้วค่ะ ครั้งแรกที่ได้ทราบว่าตัวเองจะได้ร้องเพลงนี้ก็รู้สึกปลาบปลื้มเป็นอย่าง มากค่ะ เพราะทราบว่าเพลงแก้วกัลยา เป็นเพลงที่ คุณประภาส ชลศรานนท์ แต่งขึ้นเพื่อถวายแด่สมเด็จพระพี่นางฯ เนื่องในวโรกาสคล้ายวันประสูตร ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และยังใช้เป็นสัญญลักษณ์ของคนพิการเป็นครั้งแรกอีกด้วย ซึ่งหนูทราบมาว่าสมเด็จพระพี่นางฯท่านทรงโปรดดนตรีมาก หนูจึงตั้งใจร้องเพลงนี้มากๆค่ะ ให้สมกับที่ได้รับเลือกมาเป็นนักร้องนำ แม้จะใช้เวลาในการซ้อมไม่นานก็ตาม ครั้งแรกที่ได้ฟังเนื้อร้องหนูขนลุกเลยค่ะ เรียกว่าประทับใจจนบอกไม่ถูก เนื้อเพลงสวย ดนตรีสวย ประกอบกันแล้วเป็นเพลงที่ไพเราะมากๆค่ะ ไม่รู้ว่าคุณประภาสแต่งขึ้นได้ยังไง โดยเฉพาะท่อนที่ร้องว่า “ดอกไม้ฟ้า แก้วกัลยา ประทานลงมาแสนชื่นใจ” ฟังแล้วดีจังค่ะ ซึ่งเนื้อหารวมๆในเพลงนั้นฟังแล้วได้กำลังใจมาก ๆ หนูร้องกี่รอบ ๆ ก็รู้สึกว่าชื่นใจ ก็อยากฝากให้คนไทยทุกคนโดยเฉพาะพวกคนพิเศษได้ฟังเพลงนี้นะคะ รับรองได้ว่าต้องชอบและได้กำลังใจกันทุกคนแน่นอนค่ะ”



คุณ ประภาส ชลศรานนท์ เปิดเผยถึงความรู้สึกที่มีต่อผลงานชิ้นโบว์แดงนี้ว่า “ต้อง เรียกได้ว่าเป็นช่วงดีๆช่วงหนึ่งของชีวิตที่ได้ทำงานอย่างนี้ ที่ภูมิใจที่สุดเลยก็คือในฐานะที่เป็นคนไทยและได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ ตัวเองมีอยู่ ทำงานถวายเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ คนไทยเราโชคดีมาก ทุกๆพระองค์ท่านทรงงานหนักเพื่อพสกนิกรอย่างแท้จริง อย่างสมเด็จพระพี่นางท่านก็ทรงงานอย่างหนักเพื่อโอบอุ้มคนพิการมาตลอด ก่อนจะแต่งเพลงนี้ก็ได้ศึกษาจากหนังสือของสภาสังคมสงเคราะห์ ที่พูดถึงพระราชประวัติของพระองค์ท่าน รวมไปถึงที่มาที่ไปของดอกแก้วกัลยา ที่พระองค์ทานทรงพระราชทานให้คนพิการ พระองค์ท่านทรงสนพระทัยในเรื่องกำลังใจและศักดิ์ศรีของคนพิการเป็นอย่างมาก ทรงเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่เขียนเพลงนี้ขึ้นมา ผมเลือกดนตรีคลาสสิกและดนตรีไทย เพราะผมอยากให้มีความเป็นสากลไปพร้อมๆกับการเชิดชูความงดงาม ของศิลปวัฒนธรรมไทย ยิ่งได้นักร้องแก้วเสียงดีๆอย่างน้องตั๊ก ยิ่งทำให้เพลงอบอุ่นและทรงพลังสมใจ และแม้จะเป็นเพลงจังหวะสามสี่แบบวอลซ์ แต่การเอาฉิ่งเอาระนาดซอและขลุ่ยเข้าไปบรรเลงด้วยก็ยังรู้สึกถึงความเป็น ไทยได้ ที่บอกว่าเป็นช่วงดีๆช่วงหนึ่งของชีวิตก็คือ การได้มาร่วมงานกับคนพิการอย่างเต็มรูปแบบ ยี่สิบกว่าปีก่อนผมเคยแต่งเพลง ต้นชบากับคนตาบอด ที่พูดถึงคนตาบอดที่มองเห็นความงามของโลกจากหัวใจของเขามาแล้วก็จริง แต่ตอนที่บันทึกการแสดงสดเพลงแก้วกัลยาในรายการคุณพระช่วยนี่สิครับ ของจริงที่เหนือกว่าที่ผมจินตนาการไว้ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเท่า “พวกเขา มองโลกงดงามอย่างแท้จริงเลยครับ สามสิบคนบนเวที หูพิการ ตาบอด ขาพิการ การแสดงของพวกเขาเป็นธรรมชาติมาก สดใส เต็มไปด้วยพลังและออกมาจากใจโดยไม่มีอะไรเคลือบแฝงเลย มันเหมือนน้ำในบ่อที่ใสมาก ไม่มีอะไรแขวนลอยอยู่เลย วันนั้นในสตูดิโอนี่ คนที่ใจแข็งที่สุดผมว่าก็มีน้ำตาคลอ ๆ นะ มันซึ้งใจที่เห็นพวกเขาทำได้และทำได้ดีเสียด้วย”




Copy Right www.panyathai.or.thท

ภาวะโลกร้อน

(Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าก๊าซเรือนกระจกที่ เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆสูงขึ้นจากเดิม

ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และพาหะนำโรคที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น

ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เราสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้ หลายวิธี หลักๆก็เห็นจะเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด เพราะว่าพลังงานที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวันนี้กว่าจะมาถึงให้เราได้ใช้นั้น ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนในการผลิตมากมาย และแต่ละขั้นตอนก็จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นมา เพราะฉะนั้นการลดใช้พลังงานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เช่น การปิดไฟเมื่อไม่ได้ใช้ การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้จักรยานแทนรถยนต์ในการเดินทางใกล้ๆ และอื่นๆอีกมากมาย

การปลูกต้นไม้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ อย่างที่เรารู้กันดีว่าในเวลากลางวัน ต้นไม้นั้นจะช่วยหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป และหายใจออกมาเป็นก๊าซออกซิเจน เปรียบเสมือนเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเราโดยแท้ แต่ทว่าปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายและมีจำนวนลดลงไปอย่างมาก ฉะนั้นถ้าเราทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้ ก็เหมือนกับช่วยเพิ่มเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเรา
บทความภาวะโลกร้อนอื่นๆ

* ภาวะโลกร้อนจะทำให้กรุงเทพจมทะเล
* ภาวะโลกร้อนกับก๊าซมีเทนใต้น้ำแข็ง
* ลดภาวะโลกร้อน
* ภาวะโลกร้อน
* กินเนื้อทำให้เกิดภาวะโลกร้อน!!
* ภาวะโลกร้อน กับ ปรากฏการณ์เรือนกระจก
* ปรากฏการณ์เกาะร้อน (Urban Heat island)

วิธีลดภาวะโลกร้อน

* ภาวะโลกร้อน กับ โรงเรียน
* ลดภาวะโลกร้อนฤดูหนาว
* ภาวะโลกร้อน กับ ขยะ
* ถุงผ้า กับ ภาวะโลกร้อน
* ลดใช้ถุงพลาสติก ลดภาวะโลกร้อน
* แปรงฟันแบบช่วยลดภาวะโลกร้อน
* การชาร์จแบตมือถือแบบช่วยลดภาวะโลกร้อน
* กินอย่างไรช่วยลดภาวะโลกร้อน
* เลือกซื้อตู้เย็นแบบช่วยลดภาวะโลกร้อน
* ลดภาวะโลกร้อนโดยการประหยัดไฟ
* ลดภาวะโลกร้อนกับกระดาษทิชชู
* วิธีลดภาวะโลกร้อน

ผลกระทบของภาวะโลกร้อน

* ภาวะโลกร้อน กับ ยุงลาย
* ภาวะโลกร้อน กับ หมีขั้วโลก
* ภาวะโลกร้อน กับ นกเพนกวิน
* 100 สถานที่ ที่น่าจดจำก่อนจะหายไปจากโลก – 100places.com
* เกาะมัลดีฟส์จะหายไปเพราะภาวะโลกร้อน
http://www.greentheearth.info/